สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (เทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : บธ.บ. (เทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor Of Business Administration (Digital Technology in Business)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.B.A (Digital Technology in Business)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ
มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ มีทักษะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่และสื่อสารข้อมูลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการเขียนโปรแกรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้พัฒนาระบบให้ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ลักษณะงานที่จะไปทำเมื่อจบการศึกษาใช้โปรแกรมสำเร็จรูปกับงานธุรกิจต่าง ๆ พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ จัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ขององค์กร ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
วิสัยทัศน์กว้างไกล นำชัยเทคโนโลยี มุ่งมั่นพัฒนา นำคุณค่าสู่สังคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะทั้งในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและด้านการบริหารธุรกิจ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการงานธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีจิตอาสา รับผิดชอบต่อส่วนรวม
โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ
ก.หมวดศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | |||||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | |||||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | ||||
กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ | 30 | หน่วยกิต | |||||
กลุ่มวิชาเอก | 54 | หน่วยกิต | |||||
วิชาเอกบังคับ | 42 | หน่วยกิต | |||||
1. กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ | 15 | หน่วยกิต | |||||
2. กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ | 12 | หน่วยกิต | |||||
3. กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ | 9 | หน่วยกิต | |||||
4. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ | 6 | หน่วยกิต | |||||
วิชาเอกเลือก | 12 | หน่วยกิต | |||||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | ||||
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย | |||||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
แผนการเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
สาขาการบัญชี
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาการบัญชี
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บัญชีบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : บช.บ.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Accountancy Program
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Acc.
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
แผนการศึกษารายวิชา สาขาวิชาการบัญชี
แนะนำสาขา
การเรียนการสอนของคณะการบัญชี มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในทุกรายวิชา เพิ่มเทคนิคการสอนในรูปแบบที่ใช้กรณีศึกษาและปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้ มีประสบการณ์ดูงานจากธุรกิจจริง การแข่งขันเกมส์บัญชีวิเคราะห์การลงทุน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการรายงานผลดำเนินงาน มีโครงการฝึกงานแบบสหกิจศึกษา ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องอย่างประสบผลสำเร็จ และนักศึกษาได้ทำงานกับองค์กรภาครัฐ และเอกชนเต็มเวลาตลอดภาคการศึกษา ทำให้บัณฑิตสาขาการบัญชีเป็นที่ต้องการและมีอัตราการจ้างงานในระดับสูงมาก เป็นบัณฑิตที่พร้อมด้วยความสามารถ มีน้ำใจและคุณธรรมความซื่อสัตย์ที่ปลูกฝังมาตลอดตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา
ลักษณะของสาขา
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจแนวคิดทางการบัญชี การนำวิธีและหลักการต่าง ๆทางบัญชีมาพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับด้านกฎหมาย เศรษฐกิจและสังคม สามารถวิเคราะห์ตลาดทางการเงินและ ตลาดทุนในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตได้ บัณฑิตสาขาการบัญชีสามารถออกไปประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในสายงานที่กว้างขว้าง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอิสระของตนเองได้
ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
ผู้นำความรู้ ควบคู่การใช้เทคโนโลยี มีทัศนคติที่ดี เพื่อนำไปพัฒนางานธุรกิจ ให้เกิดความสำเร็จ และสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต และมีความรู้ความเข้าใจในทางด้านการบัญชี โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะเป็นความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางด้านบัญชี สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถนำความรู้ไปพัฒนาวิชาชีพ สังคม และประเทศชาติตามศักยภาพสูงสุด
- ส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม โดยการผลิตกำลังคนด้านบัญชี
โครงสร้างหลักสูตร
ก.หมวดศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | |||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 90 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ | 42 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาเอก | 48 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกบังคับ | 33 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกเลือก | 15 | หน่วยกิต | |||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | ||
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย | |||||
รวมตลอดหลักสูตร | 126 | หน่วยกิต |
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
สาขาการจัดการ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาการจัดการ
รอบรู้บริหาร จัดการดี มีคุณธรรม
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : บธ.บ
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor Of Business Administration (Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.B.A
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
แผนการศึกษารายวิชาสาขาวิชาการจัดการ
แนะนำสาขา
มุ่งให้นักศึกษามองการณ์ไกล และสามารถมองเชิงวิเคราะห์เจาะลึก สภาพแวดล้อมที่จะมาถึง ประกอบสภาวการณ์ปัจจุบันที่จะมีผลกระทบต่อองค์กร ค้นหาวิธีการจัดการให้องค์กร
ยืนหยัดอยู่แข่งขันกับคู่แข่งได้ และหาแนวทางพัฒนางานธุรกิจปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เมื่อจบการศึกษาประยุกต์ใช้จัดการบริหาร การดำเนินชีวิตและการทำงานของตน เป็นผู้ช่วยผู้บริหาร ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ขององค์กรภาคเอกชนและรัฐ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่าง ๆ ดำเนินธุรกิจของครอบครัว เป็นพื้นฐานในการจัดตั้งธุรกิจของตนเอง
ลักษณะของสาขา
นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หาวิธีการจัดการที่เหมาะสม ศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อนำมาใช้ในการจัดการ เปลี่ยนแปลง ให้องค์กรมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ตลอดจนสามารถประยุกต์เทคนิคทางการจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขทางธุรกิจ ที่ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดได้ตลอดเวลา
จุดเด่นของสาขา
การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์การ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและจากกรณีศึกษา พร้อมปฏิบัติงานจริง ตลอดจนมีการดูงานภายนอกสถานที่อีกด้วย
ลักษณะงานที่จะไปทำ เมื่อจบการศึกษา
ประยุกต์ใช้ จัดการบริหาร การดำเนินชีวิตและการทำงานของตน เป็นผู้ช่วยผู้บริหาร ผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์กร ภาคเอกชน และรัฐบาล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่างๆ ดำเนินธุรกิจของครอบครัวเป็นพื้นฐานในการจัดตั้งธุรกิจของตนเอง
ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
มุ่งสร้างนักบริหาร ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม และนำประโยชน์สู่สังคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะที่ดีทางการบริหาร และให้มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจและสามารถจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ รวมถึง สามารถผลิตผลงานทางด้านงานวิจัย
- เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการบริหารและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างมีความสุข
- มุ่งสร้างและพัฒนานักบริหารให้ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมที่ดี
- สร้างนักบริหารให้มีศักยภาพพร้อมตอบสนองตลาดแรงงาน ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงสร้างหลักสูตร
ก.หมวดศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | |||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ | 39 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาเอก | 54 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกบังคับ | 39 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกเลือก | 15 | หน่วยกิต | |||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | ||
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย | |||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
สาขาการตลาด
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาการตลาด
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการตลาด )
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : บธ.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Business Administration
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.B.A (Marketing Management)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
ปรัชญาของสาขา
พัฒนาธุรกิจ มุ่งคิดการณ์ไกล ใส่ใจคุณธรรม นำความรู้สู่สังคม
แนะนำสาขา
สาขาการตลาดเป็นสาขาที่มีความสำคัญอีกสาขาหนึ่งเพราะเป็นที่สร้างนักศึกษาให้กลายเป็นนักการตลาดที่มีคุณภาพ โดยจะเน้นให้นักศึกษากล้าแสดงออก รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อนำเอาไปใช้ในอนาคต นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ในชีวิตจริงประจำวันได้ มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักการตลาดที่มีความรู้ ความสามารถ และ เชี่ยวชาญแบบรอบด้าน โดยเฉพาะด้านการตลาดที่เป็นการตลาดสมัยใหม่ โดยเน้นเทคนิคการปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของสาขา
จะมีการเรียนการสอนในภาควิชาการ และภาคปฏิบัติ โดยจะเน้นให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออกรู้จักแก้ไขปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ตลาดได้
ผลงานการออกแบบแผ่นพับใบปลิวของนักศึกษาสาขาการตลาด (ในรายวิชาการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย)
จุดเด่นของสาขา
จะเน้นให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออกรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาทั้งในภาควิชาการและภาคปฏิบัติภาควิชาการ จะมีการนำ
นักศึกษาไปดูงานในสถานที่ต่างๆเพื่อให้รู้รูปแบบการปฏิบัติงาน เพื่อมาปรับใช้ในการศึกษาและรวมทั้งรูปแบบการทำงานในอนาคตอีกด้วย ส่วนภาคปฏิบัติจะมีการนำนักศึกษาไปร่วมการแข่งขันเพื่อหาประสบการณ์นอกห้องเรียนด้วย
ปรัชญา
มุ่งสร้างนักบริหาร ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม และนำประโยชน์สู่สังคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะที่ดีทางการบริหาร และให้มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจและสามารถจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ รวมถึง สามารถผลิตผลงานทางด้านงานวิจัย
- เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการบริหารและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างมีความสุข
- มุ่งสร้างและพัฒนานักบริหารให้ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมที่ดี
- สร้างนักบริหารให้มีศักยภาพพร้อมตอบสนองตลาดแรงงาน ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | |||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ | 30 | หน่วยกิต | |||
กลุ่มวิชาเอก | 54 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกบังคับ | 39 | หน่วยกิต | |||
วิชาเอกเลือก | 15 | หน่วยกิต | |||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | ||
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย | |||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สาขาการท่องเที่ยว การจัดประชุม สัมมนา และงานอีเวนท์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาวิชาการท่องเที่ยว การจัดประชุม สัมมนาและงานอีเวนท์
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยว การจัดประชุม สัมมนาและงานอีเวนท์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (การท่องเที่ยว และไมซ์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Tourism Meeting seminar and Event )
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Tourism and MICE)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
“ทัศนคติดีต่องานบริการ มองงานอาชีพอิสระเป็น รู้จักใช้จุดเด่นเอกลักษณ์ความเป็นไทย”
แนะนำสาขาสำหรับผู้ต้องการท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง โดยได้รับเงินเดือนด้วย
ที่ BSU เราเน้นให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จริงเพราะ BSU เราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาในอนาคตเพราะฉะนั้นนักศึกษาทุกคนจะได้ออกเดินทางศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวทุกภาคของประเทศไทยและมีโอกาสศึกษาดูงานบริษัทชั้นนำด้านทางท่องเที่ยวการโรงแรมและสายการบินต่างๆจริง ณ.สนามบินสุวรรณภูมิ
ลักษณะของสาขา
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีปรัชญา และทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน สถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานและเพื่อนมนุษย์ มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในระดับมาตรฐานให้ประกอบอาชีพเชิงธุรกิจได้ท่ามกลางการแข่งขัน มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ให้เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของสังคมไทย ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข มีความสำนึกในคุณค่าของความเป็นไทยในทุกมิติ มีความรู้เข้มแข็ง สามารถทำการวิจัย ศึกษาต่อในระดับสูง และรู้จักเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
จุดเด่นของสาขา
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมเน้นประสบการณ์จริงมีรายได้จากการทำงานระหว่างเรียนและที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อคุณจบการศึกษาในสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรมจาก BSC แล้ว คุณจะได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ (บัตรไกด์) ที่สามารถทำงานได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ลักษณะงานที่จะไปทำเมื่อจบการศึกษา
การท่องเที่ยว : มัคคุเทศก์ ผู้ช่วยมัคคุเทศก์ พนักงานส่วนอื่น ๆ ในบริษัททัวร์
การโรงแรม : พนักงานต้อนรับในโรงแรม พนักงานในส่วนห้องอาหารโรงแรม พนักงานในส่วนห้องพัก งานต่างๆในโรงแรม
อื่นๆ : พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อาจารย์ ประกอบอาชีพอิสระ/เจ้าของธุรกิจ
ปรัชญา และ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างเสริมภูมิปัญญาประยุกต์ใช้หลักการจัดการและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำรงรักษาวัฒนธรรมของไทย และคุณธรรม เพื่อนำสังคมไทยไปสู่ความเจริญที่ยั่งยืน เรียนรู้สู่การท่องเที่ยวแบบบูรณาการ มองงานอาชีพอิสระเป็น เน้นภาคปฏิบัติ รู้จักใช้จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีปรัชญาและทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน สถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานและเพื่อนมนุษย์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มี ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ในระดับมาตรฐาน ให้สามารถประกอบอาชีพเชิงธุรกิจได้ ท่ามกลางการแข่งขัน
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ให้เป็นทรัพยากรบุคคที่มีทรงคุณค่าของสังคมไทย ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสำนึกในคุณค่าของความเป็นไทยในทุกมิติ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มี องค์ความรู้เข้มแข็ง สามารถทำการวิจัย ศึกษาต่อในระดับสูงและรู้จักเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | |
วิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 24 | หน่วยกิต | ||
วิชาเฉพาะ | 60 | หน่วยกิต | ||
วิชาเฉพาะบังคับ | 30 | หน่วยกิต | ||
วิชาเฉพาะเลือก | 30 | หน่วยกิต | ||
(กลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะ) | 15 | หน่วยกิต | ||
(กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ) | 15 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพ | ||||
กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่องานอาชีพ | ||||
กลุ่มวิชาภาษาญี่ปุ่นเพื่องานอาชีพ | ||||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
ง. หมวดฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
ฝึกปฏิบัติงานแบบสหกิจศึกษา | ||||
ฝึกงานแบบนับชั่วโมง 400 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน | ||||
รวมตลอดหลักสูตร | 126 | หน่วยกิต |
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Information Technology and Digital Innovation)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Information Technology and Digital Innovation)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
ลักษณะของสาขา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยจะเน้นฝึกปฏิบัติการติดตั้งโปรแกรม ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
ปรัชญา และ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
เพื่อผลิตบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มีปรัชญาในการมุ่งเน้นผลิตนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้จริงในสาขาอาชีพ เป้าหมายของหลักสูตร โดยมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ด้านการจัดการ สามารถบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริง โดยเน้นการเรียนไปในแนวทางด้าน การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทั้งบนเว็บและอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมใน การ พัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนของการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยมีปรัชญาในการพัฒนานักศึกษาให้เต็มตามศักยภาพที่มี เช่นการเปิดโอกาสในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงและพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาที่ประสบปัญหาในการเรียน
วัตถุประสงค์
- มีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ ปรับตัวเข้าสู่สังคมยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน และมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
- มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
- มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร รวมทั้งสามารถสื่อสารและทำงานเป็นทีมได้
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | ||
ข.หมวดวิชาเฉพาะ | 84 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาแกน | 9 | หน่วยกิต | ||
คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ | 6 | หน่วยกิต | ||
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 60 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ | 12 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ | 21 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ | 15 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ | 15 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก | 15 | หน่วยกิต | ||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต | ||
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนทั่วไปในมหาวิทยาลัย | ||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
สาขาการจัดการโลจิสติกส์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาการจัดการโลจิสติกส์
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Logistics Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Logistics Management)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
แนะนำสาขาสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้จัดคลังสินค้าชิปปิ้งนำเข้าส่งออกสินค้า
การจัดการโลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ในการผลิตและการให้บริการ โดยจะเน้นที่การวางแผนและการจัดการปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานขององค์กร หัวข้อที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วยการจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน การพิจารณาการลงทุน การจัดการวัสดุคงคลังการออกแบบส่วนการผลิตและบริการ การออกแบบและวิเคราะห์งาน การจัดการระบบการขนส่ง การจัดการโครงงาน การจัดการการตลาด การจัดการการเงินและการบัญชี การจัดการระบบข้อมูลขององค์กร เป็นต้น โดยจะเน้นทางด้านทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นแขนงวิชาที่ผสมผสานหลักการและวิธีการทางด้านเทคโนโลยีการจัดการและเทคโนโลยีข้อมูล โดยนำมาใช้ในการจัดการองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสุดและมีผลผลิตมากที่สุด เทคโนโลยีการจัดการจะเน้นที่การออกแบบ วางแผน และบริหารหน่วยงานต่างๆในองค์กร โดยจะพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กร เช่น การเงิน บุคลากร การจัดซื้อ การวางแผนและควบคุมการผลิต ( และการให้บริการ ) การจัดการคุณภาพ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการโซ่อุปทาน เป็นต้น
ปรัชญา
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีหัวใจบริการสามารถนำความรู้ทางโลจิสติกส์ไปประกอบอาชีพ สร้างความเจริญให้กับตนเองและพัฒนาประเทศไทยได้
วัตถุประสงค์
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ และมีความรู้พื้นฐานที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
- ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และนำไปประยุกต์สำหรับการดำรงชีพได้
- ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ มีความใฝ่รู้ สามารถใช้ภาษาและความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์ในการทำงานได้
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | ||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์และการจัดการโลจิสติกส์ | 33 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาเอก | 51 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกบังคับ | 33 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกเลือก | 18 | หน่วยกิต | ||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต | ||
(เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนทั่วไปในมหาวิทยาลัย) | ||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.บ. ( การจัดการอุตสาหกรรม )
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science (Industrial Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) B.Sc. (Industrial Management)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
แนะนำสาขา เหมาะสำหรับผู้ต้องการเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน หรือบุคลากรในงานอุตสาหกรรม
“ รู้รอบกระบวนการ เชี่ยวชาญงานผลิต ชีวิตปลอดภัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม ”
สาขาการจัดการอุตสาหกรรม มีความมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในสายงานอุตสาหกรรมและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการบริหารจัดการโรงงานหรือธุรกิจอุตสาหกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ และรู้จักการใช้ทรัพยากรทางการผลิตอย่างคุ้มค่า
ปรัชญา และ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
มุ่งสร้างนักบริหาร ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม และนำประโยชน์สู่สังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมทั้งระบบการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม สามารถวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการทำงานสมัยใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ในกระบวนการบริหารจัดการทางอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม รวมถึงมีความรอบรู้ในเทคนิคการทำงานและเทคโนโลยีต่างๆที่มีประสิทธิภาพและนำเข้ามาปรับใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตและผลิตภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสามารถในการวางแผน วิเคราะห์และแก้ปัญหาถึงผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับบุคคล ชุมชน และสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย เพื่อให้การดำเนินงานอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จและมีความสามารถในการแข่งขันในสถานการณ์ต่างๆได้
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ การจัดการความรู้ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมได้ด้วยตนเอง ตลอดจนส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ และทักษะการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละรายวิชาอย่างเหมาะสม
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็น คนเก่ง และ เป็นคนดี ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกของความมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์การ และต่อสังคมร่วมด้วย
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | ||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์และการจัดการโลจิสติกส์ | 33 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาเอก | 51 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกบังคับ | 33 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกเลือก | 18 | หน่วยกิต | ||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
(เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนทั่วไปในมหาวิทยาลัย) | ||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
Facebook สาขารัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อเต็ม (ไทย) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อย่อ (ไทย) : รป.บ.(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.P.A. (Public Administration)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
แนะนำสาขา
สาขารัฐประศาสนศาตร์ของ BSU นั้นเป็นสาขาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสาขาที่ศึกษาในเรื่องของวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศและองค์กร ทั้งในเรื่องของนโยบาย วิธีการตลอดจนการนำไปใช้ได้จริง โดยมีผู้เรียนจะได้มีการศึกษา เรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียง
ลักษณะของสาขา
สาขารัฐประศาสนศาตร์ของเราได้รับการรับรองหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว (รปบ) จบแล้วสามารถทำงานในภาคเอกชนเกี่ยวกับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายอบรมและสามารถปฏิบัติงานในภาครัฐทั้งกระทรวง ทบวง กรม ตลอดจนองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ ได้ซึ่งถือว่าเป็นงานที่มั่นคงอย่างยิ่ง
จุดเด่นของสาขา
สาขารัฐประศาสนศาตร์เป็นสาขาที่สามารถเลือกปฏิบัติงานได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผู้เรียนในสาขาของเราและปฏิบัติงานในภาครัฐหรือเอกชน สามารถมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารหรือผู้กำหนดทิศทางของหน่วยงานได้ โดยไม่ยากเย็นและยังเป็นสถานที่สามารถมีอาชีพที่มั่นคงให้กับครอบครัวสืบต่อไป
เรียนจบแล้วได้อะไร
สามารถปฏิบัติงานเป็นข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดอำเภอ นักการเมืองระดับประเทศและท้องถิ่น นายกอบจ , อบต พนักงานเอกชน เจ้าหน้าที่่ฝ่ายบุคคล เป็นต้น
ปรัชญา และ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
เสริมสร้างความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานทั้งภาครัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ
- เพื่อพัฒนาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้มีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวิชาชีพ มีคุณธรรม มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้เป็นอย่างดีและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง
- เพื่อศึกษาและผลิตผลงานการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ สำหรับบริการและเผยแพร่ความรู้แก่ทุกภาคส่วนของสังคม
- เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่บุคลากรในท้องถิ่น
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | ||
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 84 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาแกนรัฐประศาสนศาสตร์ | 33 | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาเอก | 51 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกบังคับ | 33 | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกเลือก | 18 | หน่วยกิต | ||
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
เลือกจากกระบวนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย |
||||
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
สนใจสมัครเรียน คลิกเลย !!
บัณฑิตวิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาโท ปัจจุบันมีหลักสูตรดังนี้ ดังนี้
ชื่อหลักสูตร |
สาขา |
หน่วยกิต |
|
1 | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Education) | สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (M.Ed.) | 54 |
2 | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration) | สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (M.B.A.) | 39 |
3 |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science Program in Logistics Technology) |
สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ (Ms.LT.) | 36 |
รายละเอียดเพิ่มเติม http://graduate.bsu.ac.th/ |